วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561

แนะนำการใช้งาน ArcGIS Pro เบื้องต้น


        ในบทความนี้ จะมาแนะนำการใช้งานโปรแกรม ArcGIS Pro ในเบื้องต้นนะครับ เวอร์ชันที่จะใช้แนะนำนี้ เป็นเวอร์ชันล่าสุดคือ ArcGIS Pro 2.2 เริ่มจากการเริ่มต้นการใช้งาน ซึ่งจะต่อจากบทความ "การติดตั้ง ArcGIS Pro" นะครับ

        เมื่อเปิดโปรแกรม ArcGIS Pro ใหม่ จะปรากฏหน้าต่างโปรแกรมดังรูปด้านล่าง โดยมีขั้นตอนการสร้าง Project ใหม่ ดังนี้
               1. คลิกเลือก Blank เพื่อเลือก Project เปล่า ที่ยังไม่ได้ทำอะไร
               2. จะปรากฏหน้าต่าง Create a New Project กำหนดชื่อ Project
               3. กำหนดสถานที่จัดเก็บ Project
               4. คลิก OK เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
               5. แสดงถึงการใช้งานโปรแกรมแบบ Authorize Use ซึ่งไม่จำเป็นต้อง Sign In เข้าโปรแกรม

     จากนั้นโปรแกรมจะเข้าสู่ Project ที่ได้สร้างขึ้น ดังแสดงในรูปด้านล่าง
               1. เป็นส่วนแสดงชื่อ Project และแหล่งที่จัดเก็บ รวมถึง มุมมองของกิจกรรมที่กำลังทำ
               2. เป็นแถบเครื่องมือลัด โดยสามารถปรับแต่งหรือเพิ่มเครื่องมือที่ใช้เป็นประจำได้
               3. เป็นส่วนเครื่องมือต่างๆ โดยจะเรียกส่วนนี้รวมๆ ว่า Ribbon
               4. เป็นส่วนรายละเอียดและมุมมอง Content ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่
               5. เป็นส่วนมุมมองกิจกรรมที่กำลังทำงาน ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามแถบมุมมองด้านบน
               6. เป็นส่วนหน้าต่างที่ใช้สำหรับการจัดการ ซึ่งจะเปลี่ยนไปสิ่งที่จัดการตามแถบจัดการด้านล่าง

        ลำดับถัดมา เป็นข้อแนะนำในการใช้งาน เนื่องจาก ArcGIS Pro ถูก Set Default ไว้ให้ดึง Base map จาก Web Map Service ของ ESRI เข้ามาเสมอ ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาเปิดค่อนข้างนาน ถ้าหากเครื่องไม่ค่อยแรง แนะนำให้ไปปลด Base map ออกเสียก่อน โดยการเลือกคลิกที่ แถบ Ribbon Project ดังรูปด้านล่าง
        จากนั้นจะหน้ากฏมุมมอง Project ซึ่งหน้าตาจะคล้ายๆ MS Office รุ่นใหม่ๆ
               1. เลือก Option
               2. เลือก Map and Scene
               3. ใน Set default option for new maps and scenes ส่วน Basemap เลือก None
               3. คลิก OK เพื่อบันทึกการตั้งค่าเริ่มต้น

        จากนั้นคลิกที่ ลูกศรด้านบนสุด เพื่อกลับไปยังหน้ากิจกรรม จะทำการเรียกข้อมูลแผนที่โดย
               1. คลิกแถบ Ribbon Insert
               2. คลิกเคริ่องมือ New Map ใน Ribbon
               3. เลือกรูปแบบ Map ที่ต้องการทำงาน ซึ่งจะมีให้เลือกอยู่ 4 แบบ ได้แก่
                           - New Map สำหรับแผนที่เปล่าแบบกำหนดเอง
                           - New Global Scense สำหรับแผนที่ในระดับใหญ่ เช่น ระดับประเทศ ภูมิภาค เป็นต้น
                           - New Local Map สำหรับแผนที่ระดับเล็ก ระดับพื้นที่อาคาร ถึงระดับจังหวัด เป็นต้น
                           - New ฺBasemap เป็นการเรียก Basemap จาก Web Map Service ของ ESRI มาใช้งาน

        ในที่นี้จะเลือก New Map เพื่อกำหนดเอง เมื่อคลิกแล้วจะได้ดังรูปด้านล่าง
               1. สังเกตว่า เครื่องมือในส่วน Ribbon จะเปลี่ยนไปตาม แถบ Ribbon ที่เลือก ในที่นี้เลือกแถบ Map
               2. ใน contents ก็จะเปลี่ยนไป จะ Focus ในระดับ Layer แทน
               3. ใน Activities View จะเปลี่ยนเป็น Map View เพื่อจัดการข้อมูลแผนที่ คล้าย ArcMap
               4. ใน Pane ก็จะเป็นมุมมองรายละเอียดของการจัดการกับสิ่งที่ทำ

ขั้นตอนถัดไป เป็นการเรียกชั้นข้อมูลหรือสร้างชั้นข้อมูลเข้ามาใน Project ของเรา
               1. คลิกแถบ Project ใน Catalog Pane ด้านขวามือ
               2. คลิกขวาที่กล่อง Folders
               3. เลือก Add Folder Connection เพื่อนำเข้าชั้นข้อมูลที่มีอยู่แล้ว จะปรากฏหน้าต่างดังรูปด้านล่าง
               1. เลือกแหล่งที่อยู่ของชั้นข้อมูล (ระดับ Folder) ที่ต้องการจะนำเข้า
               2. คลิก OK เพื่อนำเข้า Folder ที่เก็บชั้นข้อมูล

        จะพบว่า Folder DataBase ที่ได้นำเข้า จะมาอยู่ภายใต้ Folders ของ Project ดังรูปด้านล่าง
        จากนั้นทดลองนำเข้าชั้นข้อมูลที่อยู่ใน DataBase เข้าไปยัง Map View เพื่อจัดการข้อมูล
        มีวิธีการนำเข้าอยู่ 3 วิธี ดังนี้
               1. คลิกเลือกที่เครื่องมือ Add Data (จะคล้ายกับ ArcMap) ระบบจะนำไปยังแหล่งข้อมูล (Folder) ที่ได้นำเข้าไว้แล้วโดยอัตโนมัติ
               2. คลิกขวาที่ชั้นข้อมูลที่ต้องการ ใน Catalog Pane แล้วเลือก Add To Current Map
               3. คลิกเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ ใน Catalog Pane ค้างไว้ แล้วจับลากเข้าไปยัง Map View

     จากทั้ง 3 วิธีจะทำให้ได้ชั้นข้อมูลที่ต้องการแสดงบนหน้า Map View เพื่อให้สามารถจัดการกับชั้นข้อมูลนั้นได้

        ลำดับถัดไปเป็นการสร้างชั้นข้อมูลใหม่ให้อยู่ในแหล่งข้อมูลที่นำเข้าใน Project โดย
               1. คลิกขวาที่แหล่งข้อมูลที่ต้องการจะสร้างชั้นข้อมูลใหม่
               2. คลิกเลือก New
               3. คลิกเลือก Feature Class จะปรากฏหน้าต่าง Create Feature Class ดังรูปด้านล่าง
               1. ตั้งชื้อให้กับชั้นข้อมูลที่จะสร้าง
               2. กำหนดค่าที่จะแสดงแทนชื่อของชั้นข้อมูลที่จะสร้าง
               3. เลือกประเภทให้ชั้นข้อมูลที่จะสร้าง
               4. คลิก Next เพื่อกำหนดคุณสมบัติให้กับชั้นข้อมูลที่จะสร้างเพิ่มเติม
               5. หากกำหนดคุณสมบัติทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว คลิก Finish เพื่อเสร็จสิ้นการสร้างชั้นข้อมูล

        เมื่อคลิก Next (4) คุณสมบัติถัดไปที่ต้องกำหนด คือ ตารางอรรถธิบาย (Fields) ของชั้นข้อมูล
               1. คลิกที่ Click here to add a new field เพื่อเพิ่ม field ใหม่ที่ต้องการให้กับชั้นข้อมูล
               2. คลิก Import เพื่อนำเข้า field ที่สร้างขึ้นใหม่
               3. กำหนดประเภทของตัวอักษรให้กับ field ที่สร้างใหม่นั้น

        เพิ่ม field จนครบตามที่ต้องการ จากนั้นคลิก Next เพื่อกำหนดระบบพิกัดอ้างอิงให้กับชั้นข้อมูลที่จะสร้าง โดย
               1. คลิกค้นหาระบบพิกัดที่ต้องการ เช่น WGS 1984 47N เป็นต้น
               2. คลิกเลือกระบบพิกัดอ้างอิงที่ต้องการ
               3. ระบบพิกัดอ้างอิงที่เลือกจะแสดงบน Current XY

        จากนั้นคลิก Next เพื่อกำหนดคุณสมบัติให้กับชั้นข้อมูลที่จะสร้างเพิ่มเติม หรือคลิก Finish เพื่อเสร็จสิ้นการสร้างชั้นข้อมูล ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะได้ชั้นข้อมูลใหม่เข้ามาภายในแหล่งข้อมูลดังรูปด้านล่าง

        ต่อไปจะเป็นการจัดการกับข้อมูลตาราง (Field) ของชั้นข้อมูลที่นำเข้า
        การเพิ่ม field ในตารางที่มีการสร้างชั้นข้อมูลไว้แล้ว

               1. คลิกขวา เลือก Attribute Table ของชั้นข้อมูลที่จะจัดการ
               2. จะปรากฏหน้าต่างของตาราง FloodArea ที่มี field เดิมจากที่ได้ตั้งไว้ดังรูปด้านล่าง
               3. คลิกเลือก Add field เพื่อเพิ่มตาราง
               4. กำหนดค่าคุณสมบัติของ field เช่น เพิ่มฟิลด์ Rai และ Data type เป็น Double เป็นต้น

               5. เมื่อเพิ่ม field ตามต้องการแล้วเสร็จ ที่ Tab Field ให้กดปุ่ม Save เพื่อบันทึกการเพิ่ม field


        การนำเข้าข้อมูลจากข้อมูลตารางที่มีค่าพิกัด
               1. นำเข้าข้อมูลตารางที่มีค่าพิกัด ตัวอย่าง เลือก TreeSurvey ให้เข้ามาอยู่ในหน้า Map View โดยเลือก Add to Current Map หรือ ลากเข้าไปยัง Map View โดยตรง

               2. จากนั้น คลิกขวาที่ TreesSurvey เลือก Display XY Data

               3. จากนั้น กำหนดค่าคุณสมบัติต่างๆ 

               4. กด Run เพื่อเพิ่มชั้นข้อมูลใหม่เข้ามาอยู่ใน Map View 

********************

        ในส่วนแนะนำการใช้งานในเบื้องต้นนี้ ผมมีวีดีโอของ คุณ Tariri Muzangaza จาก Esri Australia ที่ได้อธิบายไว้ในยูทูปมาแนะนำ เพื่อศึกษาประกอบเพิ่มเติมครับ

        หรือการแนะนำการใช้งานอย่างสั้นก็วีดีโอนี้ครับ





การติดตั้ง ArcGIS Pro


        ก่อนจะเริ่มใช้งานได้ อันดับแรกสุดเลย เราต้องทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ ArcGIS Pro เสียก่อน เป็นที่ทราบกันดีว่าซอฟต์แวร์ ArcGIS นั้นมีหลาย Authorize use license แต่ที่เราใช้กันบ่อยและเยอะที่สุดน่าจะเป็นแบบ Single Use License ดังนั้นใน Blog นี้ ผมจะขอแสดงตัวอย่างการติดตั้งแบบ Authorize Single Use License นะครับ 

(ปกติเวลาเราซื้อโปรแกรมมาใช้งาน ทาง ESRI จะจัดส่งคู่มือการติดตั้งมาให้ด้วย)  

1. เริ่มติดตั้ง ArcGIS Pro โดยนำแผ่นซีดีหรือทรัมไดร์สำหรับติดตั้งโปรแกรมเข้ากับเครื่องที่เราจะใช้งาน จะปรากฏหน้าต่าง เพื่อเริ่มทำการติดตั้ง ให้คลิก Close ดังรูป

2. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างต้อนรับเพื่อติดตั้ง คลิก Next ดังรูป

3. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างข้อตกลงในการใช้โปรแกรม ให้เลือกที่ I accept.. แล้วคลิก Next ดังรูป

4. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างเลือกประเภทการติดตั้ง ให้เลือกที่ Anyone who.. แล้วคลิก Next ดังรูป

5. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างเลือกที่อยู่ในการติดตั้ง (ปกติจะติดตั้งในไดรฟ์ C แยู่แล้ว หากท่านใดอยากติดตั้งในไดรฟ์อื่นให้คลิก Change... แล้วเลือกไดรฟ์ที่ต้องการ) จากนั้นคลิก Next ดังรูป

6. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างเตรียมพร้อมติดตั้งโปรแกรม คลิก Install ดังรูป

7. เมื่อติดตั้งโปรแกรมสมบูรณ์ จะปรากฏหน้าต่าง ดังรูป ให้คลิก Finish

8. จากนั้นโปรแกรมจะเปิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ แล้วให้เลือก Configure your license option ดังรูป

9. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Licensing ให้เลือก License Type เป็น Sing Use License และเลือก Level ที่เราซื้อมา แล้วคลิก Authorize ดังรูป

10. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างเลือกรูปแบบการแสดงสิทธิ์ ให้เลือก I have installed... แล้วคลิก Next ดังรูป

11. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างเลือกวิธีการแสดงสิทธิ์ ให้เลือก Authorize with ESRI now... แล้วคลิก Next ดังรูป

12. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้กรอกข้อมูลผู้ใช้สิทธิ์ กรอกให้ครบที่มี * แล้วคลิก Next ดังรูป

13. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้กรอกข้อมูลผู้ใช้สิทธิ์ต่อ กรอกให้ครบที่มี * แล้วคลิก Next ดังรูป

14. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้กรอกข้อมูล License (ที่ได้มาพร้อมตัวติดตั้งโปรแกรม) แล้วคลิก Next ดังรูป

15. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้กรอกข้อมูล License ของ Extensions (ถ้าซื้อมาด้วย Code จะมากับข้อมูล License จากข้อ 14) โดยคลิกเลือก I have... แต่ถ้าไม่ได้ซื้อเพิ่ม ให้เลือก I do not...แล้วคลิก Next ดังรูป

16. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Evaluate Extensions ให้คลิก Next เพื่อเริ่ม Authorize License ดังรูป

17. จะปรากฏหน้าต่าง Authorize Software เมื่อแล้วเสร็จ จะขึ้นคำว่า Congratulations... ให้คลิก Finish หรือคลิก x เพื่อเริ่มใช้งานโปรแกรม

18. จากนั้นระบบจะเรียกโปรแกรมขึ้นมาเข้าสู่หน้าแรกในการทำงาน ดังรูป

ถือว่าการติดตั้ง "เสร็จสิ้น" ขอให้สนุกกับการใช้โปรแกรม ArcGIS Pro นะครับ...


ปล.ที่มาของรูปเกือบทั้งหมดมาจากคู่มือการติดตั้ง ArcGIS Pro 2.1 Installation Guide (Single Use License) ของบริษัท ESRI (ประเทศไทย)


ในส่วนการติดตั้งแบบอื่นๆ นั้น ผมมีวีดีโอที่เป็นการติดตั้งแบบใช้ User เข้าใช้งาน Online ตั้งแต่เริ่มต้นดาวน์โหลดจนถึงการเริ่มใช้งานเลยมาแนะนำครับ ลองศึกษาดูนะครับ


หรือ





วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วิวัฒนาการของ ArcGIS มาสู่ ArcGIS Pro

         ปัจจุบัน เป็นยุค Digital Transformation ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และการเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่ทำได้ง่ายขึ้น การแข่งขันเพื่อเป็นผู้นำทางธุรกิจด้านต่างๆ ทำให้ผู้ที่ทำธุรกิจให้บริการด้านไอทีต้องพบกับโจทย์ที่ยากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

        การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มีแนวโน้มเปลี่ยนไป จากการลงทุนด้านระบบ Hardware มาเป็นการหา Software Solutions ที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถเชื่อมโยงและผนวกกับข้อมูลมหาศาล (Big data) ที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


        GIS จึงตอบโจทย์ยุค Digital Transformation เนื่องจากถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องสำหรับการเป็นตัวช่วยสำคัญในการดำเนินงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการวิเคราะห์และช่วยตัดสินใจต่างๆ

         ปัจจุบัน ภาคเอกชน ได้นำ GIS มาใช้ในการหาคำตอบทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น เช่น การขยายสาขา การกระจายสินค้า การขนส่งสินค้า การประเมินศักยภาพและเปรียบเทียบคู่แข่ง การแบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนสนับสนุนการส่งเสริมการขาย เป็นต้น

แนวโน้ม GIS

        ปัจจุบันการใช้งาน GIS เป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น GIS เริ่มเข้าไปมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การหาเส้นทาง ตรวจสอบจราจร บน Google Map เป็นต้น ซึ่งนับวันยิ่งจะเข้าถึงและใช้ง่ายยิ่งขึ้น


        ผู้ที่ทำงานในวิชาชีพ GIS จึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอยู่เสมอ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เองก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน วิวัฒนาการซอฟต์แวร์ของตนให้ตอบโจทย์ทันต่อการใช้งานตามยุค สมัยอยู่เสมอ



แนวโน้ม ArcGIS

        ArcGIS (ESRI) ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการปรับตัว วิวัฒนาการตนเองให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน จึงมีการนำเสนอ Solution ต่างๆ ออกมามากมายครอบคลุมการทำงานทุกรูปแบบ ทั้ง Desktop-Web-Mobile Application ซึ่งยังสามารถจัดการกับ Big data ได้


        ArcGIS Pro เป็น ArcGIS Desktop ตัวล่าสุด ซึ่งถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ArcMap เพื่อจะมาแทนที่ ArcMap ในอนาคต เช่นเดียวกับครั้งหนึ่งที่ ArcMap มาแทน ArcView โดย ArcMap จะพัฒนาถึงปี 2020 ซึ่งจะมีเวอร์ชั่น ArcGIS 10.7 เป็นเวอร์ชันสุดท้าย 


        คุณสมบัติเด่นที่เป็นจุดขายของ ArcGIS Pro คือ สามารถแสดงแผนที่ได้หลายมุม รวมถึงรองรับการสร้าง แก้ไขและวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ 





        ใน ArcGIS Pro version 2.2 นี้ มีฟังก์ชันที่สำคัญเพิ่มเข้ามา คือ สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล BIM ได้ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการใช้งานทางด้านวิศวกรรมอาคารสำหรับ ArcGIS


ผมมีวิดีโอจากยูทูบที่น่าสนใจมาให้ลองศึกษาเพิ่มเติมกันดูด้วยครับ

อันแรกเป็นการแนะนำ ArcGIS Pro ของ ESRI ครับ



ถัดมาเป็นการบอกถึงวิวัฒนาการที่ต่อมาจาก Arcmap อย่างไร



ถัดมาเป็นการเปรียบเทียบกันระหว่าง ArcGIS Pro กับ ArcMap




        ตอนนี้ผมคิดว่ามันเริ่มน่าสนใจขึ้นมาแล้ว... เรามาเริ่มใช้งาน ArcGIS Pro ไปกับ Blog นี้กันเลยครับ

บทเรียนใน Blog